e-playment

ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์(E-Payment)

ในชีวิตประจำวันของประชาชนมีความเกี่ยวข้องกับการชำระเงินอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้า/บริการ การโอนเงิน หรือการทำธุรกรรมการเงินอื่นใด การขยายตัวของเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การบริการด้านการชำระเงินมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยรูปแบบการชำระเงินมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น การให้บริการมีความรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจและประชาชน และมีผู้ให้บริการรายใหม่ๆ เกิดขึ้น รวมทั้งมีการนำเอากระบวนการชำระเงินเข้าไปในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกกันว่า ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment)

Electronic Payment system (ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์) คือ กระบวนการส่งมอบหรือโอนสื่อการชำระเงินเพื่อชำระราคา   โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม โทรสาร โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

ขั้นตอนการชำระเงิน

1.ตกลงซื้อสินค้า กรอกข้อมูลบัตรเครดิต *ข้อมูลส่วนนี้ทางร้านไม่สามารถเห็นได้

2.ส่งข้อมูลไปยัง Acquiring Bang (ธนาคารที่ฝ่ายร้านค้าใช้บริการอยู่)

3.Acquiring Bang ทำการตรวจสอบมายังธนาคารผู้ออกบัตร ว่าบัตรเป็นของจริงและสามารถใช้ได้

4.Acquiring Bang ทำการเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ออกบัตรz

5.ธนาคารผู้ออกบัตรโอนเงินไปยัง Acquiring Bang เข้าสู่บัญชีร้านค้า

6.ส่งข้อมูลการชำระกลับไปยังร้านค้า

7.ร้านค้าส่งข้อมูลการชำระกลับไปยังลูกค้า เพื่อยืนยันการสั่งซื้อ

(E-Payment) มีกระบวนการการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากที่สุด ดังนี้

1.สั่งซื้อและส่งข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิตไปให้ผู้ขาย

2.ผู้ขายยืนยันส่งข้อมูลการสั่งซื้อกลับมายังผู้ซื้อ

3.ผู้ขายรับข้อมูลการสั่งซื้อ(มองไม่เห็นเลขบัตรเครดิต)

4.ผู้ขายส่งข้อมูล Encrypted Payment ไปยังเครื่องบริการด้านการจ่ายเงินทาง online (Cyber Cash Server)

5.Cyber Cash Server รับข้อมูลผ่านทาง Fire wall ถอดรหัสข้อมูลลูกค้าและส่งไปยังธนาคารผู้ขายและผู้ซื้อ

6.ธนาคารผู้ขายร้องขอให้ธนาคารผู้ซื้อรับจ่ายเงินตามจำนวนเงินตามยอดบัตรเครดิต

7.ธนาคารผู้ซื้อตรวจสอบข้อมูล แล้วส่งกลับไปว่าอนุมัติหรือไม่ และ transfer ยอดเงินให้ผู้ขาย

8.Cyber Cash Server รับข้อมูลส่งต่อไปยังผู้ขายเพื่อส่งข้อมูลไปยังผู้ซื้อต่อไปปัจจัยสู่ความสำเร็จ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จมี 4 ประเด็น คือ

(1) การบริการลูกค้า เทคโนโลยีต้องเข้าถึงได้ง่ายและเป็นมิตรกับประชาชน ลดขั้นตอนทางราชการที่ยุ่งยากซับซ้อน ให้สารสนเทศที่ทันสมัยและตรงกับความต้องการ

(2) การออกแบบและประเมินผล บริการต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและรักษาระบบให้มีเสถียรภาพแม้ในภาวะวิกฤติ กำหนดนโยบายและกระบวนการรับข้อร้องเรียนที่ชัดเจน ติดตามผลและปรับปรุงระบบช่วยสร้างการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง

(3) ความมั่นคง-ปลอดภัย บริการต้องอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมออนไลน์ และให้ความสำคัญสูงสุดต่อความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคล

(4) การเห็นคุณค่าและความสำคัญ บริการที่ดีต้องถูกให้ความสำคัญในลำดับสูงสุดจากทุกภาคส่วน ผู้นำประเทศ นักการเมืองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ระดับสูง และพนักงานของรัฐ ต้องให้การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และตอบข้อสงสัยแก่ประชาชนผ่านการสื่อสารสองทางอย่างประสิทธิภาพ

(5) การรักษาความปลอดภัย
ความต้องการการรักษาความปลอดภัย (security requirements) มีองค์ประกอบ ดังนี้
1.ความสามารถในการระบุตัวตนได้ (Anthentication)
2.ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล (Integriry)
3.ความไม่สามารถปฏิเสธได้ (Non-repudiation)
4.สิทธิส่วนบุคคล (Privacy)
วิธีการรักษาความปลอดภัย 
• การใช้รหัส (Encryption)
• ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic certificate)
• โปรโตคอล (Protocols)

ประโยชน์ e-payment ในองค์กร

1.การสั่งชำระเงิน และการรับชำระเงินมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น

ด้วยระบบ E – Pay ท่านไม่จำเป็นต้องเดินทางไปชำระเงินด้วยวิธีการเดิมๆ อีกต่อไป ท่านสามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากร และเวลาที่เสียไปจากการเดินทางรวมถึงความเสี่ยงจากการถือเงินสด เป็นต้น

2.เพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารการเงิน

เนื่องจากการบริการ E – Pay เป็นการชำระเงินแบบ Online และ Real Time จึงเพิ่มความสะดวกในกรณีที่ท่านต้องการสั่งชำระเงินเป็นกรณีเร่งด่วนโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางเพื่อไปชำระเงินเหมือนระบบเดิม โดยผู้รับเงินสามารถรับเงินและนำเงินไปบริหารต่อได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 นาที โดยไม่ต้องรอการเคลียร์ริ่งของธนาคาร ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเงินสดของบริษัทอีกทางหนึ่ง

3.ลดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลการทำรายการ

ระบบ E – Pay จะดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลมาใช้ เช่น เลขที่บัญชีผู้มีอำนาจในการสั่งจ่าย ,

วงเงินในการสั่งจ่าย เป็นต้นทำให้ท่านสามารถทำงานได้รวดเร็วและลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดพิมพ์เอกสารได้ทำให้การดำเนินงานทางด้านบัญชีและการเงินของบริษัทจึงมีความสะดวก รวดเร็ว

และถูกต้องมากยิ่งขึ้น

4.การยืนยันการตัดบัญชีและการนำเงินเข้าบัญชี

ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้สั่งชำระเงิน หรือรับชำระเงินก็จะได้รับข้อความยืนยันการตัดบัญชี (Debit Advice)และข้อความยืนยันการนำเงินเข้าบัญชี (Credit Advice) จากธนาคารผ่านระบบ E – Payเมื่อรายการชำระเงินเสร็จสมบูรณ์โดยท่านไม่ต้องสอบถามผลของการทำรายการไปที่ธนาคารโดยตรง

5.เสริมสร้างความคล่องตัวในการทำงาน

ท่านสามารถเลือกใช้บริการกับธนาคารต่างๆ ที่เข้าร่วมให้บริการ หรือเปลี่ยนแปลงไปใช้ธนาคารอื่นในภายหลังก็ทำได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องเปลี่ยนโปรแกรมหรือขั้นตอนการทำงานแต่อย่างใด

เช่น การทำธุรกรรมผ่านมือถือ

 

Screenshot_2014-06-02-22-04-34

ที่มา : http://www.kasikornbank.com/TH/ApplyForServices/Pages/KPaymentGateway.aspx

Apple ID
คือ Account ที่ไว้ใช้สำหรับ ซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ผ่าน iTune Store (Apps, Music, Movies และอื่นๆ)

รวมไปถึงสินค้าจาก Apple Online Store

การสมัครแบบใช้ Credit card และแบบไม่ใช้ Credit card

วิธีสมัคร Apple ID แบบใช้บัตรเครดิต
###ที่ menu bar iTunes -> Store -> Create Account

จะเข้าถึงหน้าการสมัคร จะบรรยายเป็นข้อๆนะครับ

(สำคัญมากครับ ส่วนใหญ่จะติดกันตรงขั้นตอนนี้ครับ)
– email ตรงนี้จะใช้ e-mail ที่เรากรอกเพื่อใช้เป็น Apple id
– password ในส่วนของรหัสผ่าน ได้เปลี่ยนเงื่อนไขในการตั้งใหม่ โดยต้องประกอบด้วย ตัวพิมพ์ใหญ่, ตัวพิมพ์เล็ก และตัวเลข อย่างน้อยหนึ่งตัว และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 8 ตัวอักษร ตัวอย่างเช่น Nstelecom1 (มีตัวพิมพ์ใหญ่, พิมพ์เล็ก, และตัวเลขประกอบด้วย)
– question คำถามกันลืม อย่างน้อย 6 ตัวอักษร
– birth day วันเดือนปีเกิด

ใครใส่แล้วโดนแจ้งว่าอายุไม่ถึงก็ใส่แบบโกงอายุ (ใส่แก่กว่าความเป็นจริง)

ตรวจทานแล้วก็ continue ต่อครับ

ใส่รายละเอียดบัตรเครดิต และข้อมูลที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์

มื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนแล้ว จะต้องไปทำการยืนยันที่ email ที่เรากรอกเพื่อสมัคร Apple id อีกครั้ง

วิธีสมัคร Apple ID แบบไม่ใช้บัตรเครดิต (None Credit card)

#หา free app ซักตัวครับ แล้วกดเลือกครับ

#จะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา ให้กด Create Account

#มาถึง payment จะเห็นว่าเค้าจะมี none ให้เลือกแล้วครับ

ที่มา: http://www.ns-telecom.com/MBK/index.php?topic=3.0

ใส่ความเห็น