Assigment1

1. search engine marketing

SEM ย่อมาจากคำว่า Search Engine Marketing เป็นการผสมคำกันระหว่างคำว่า Search Engine หรือ เครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ต และคำว่า Marketing หรือการตลาด ดังนั้น SEM หรือ Search Engine Marketing จึงหมายถึง “การทำการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ต”

1

การทำ SEM เป็นวิธีการโปรโมตเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพและตรงเป้าหมาย เนื่องจากในการค้นหาข้อมูลในแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้ Keyword (คีย์เวิร์ด) เป็นตัวกำหนดขอบเขต

เมื่อเราิป้อน Keyword ลงในช่องค้นหา Search Engine จะประมวลผลและแสดงออกมาเป็นรายการของเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาตรงกับ Keyword นั้นๆ ไว้ในหน้า Search Result Page หรือ หน้าแสดงผลการค้นหา ยิ่งเว็บไซต์อยู่ในอันดับที่ดีมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้มีคนเปิดเข้าไปดูมากขึ้นเท่านั้น และนำมาซึ่งยอดผู้ใช้บริการหรือยอดขายที่เพิ่มมากขึ้น

Search engine ที่เป็นที่นิยมมากในปัจจุบันคือ Google และ Yahoo! โดย Google เป็นที่นิยมอันดับ 1 ในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย รวมทั้งประเทศไทย ส่วนในประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง และใต้หวันนิยมใช้ Yahoo!

การทำ SEM (Search Engine Marketing) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ

2

  1. SEO (Search Engine Optimization) หรือการโปรโมทเว็ปไซต์ คือ การเพิ่มอันดับของเว็บไซต์ในส่วนของผลการค้นหาทั่วไปในหน้า Search Result Page โดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในเว็บไซต์ให้เป็นไปตามกฏของ Search Engine นั้นๆ อ่านต่อ
  2.  PPC (Pay Per Click) คือ ส่วนของพื้นที่โฆษณาซึ่งอยู่ในหน้า Search Result Page เช่นกัน แต่ต้องจ่ายเงินเมื่อมีการคลิ๊กเปิดเข้าไปดูเว็บไซต์ PPC มีข้อแตกต่างกับ SEO ตรงที่สามารถแสดงผลในลำดับต้นๆได้ง่ายและรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างในเว็ปไซด์ เพียงแค่ประมูล Keyword ที่ต้องการมา เว็บไซต์ก็สามารถแสดงอยู่ในอันดับต้นๆได้

– See more at: http://seo-web.aun-thai.co.th/what_is_sem/#sthash.hFehNzkp.dpuf

 

2.  Social Media Marketing (SMM)

3

Social Media คือสื่อในสังคมออนไลน์ที่ในปัจจุบันนิยมใช้งานกันมากและมีการใช้งานในรูปแบบการสื่อสารสองทาง (Interactive) ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Social Media ประเภทต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยผู้ใช้งานสามารถเข้ามาแบ่งปันความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ให้แก่กันได้อย่างอิสระและสามารถโต้ตอบแสดงความคิดเห็นกันได้อย่างทันทีทันใด ทำให้คุณไม่พลาดทุกการสื่อสาร

ดังนั้น การทำการตลาดแบบ Social Media Marketing (SMM) หรือ การทำการตลาดบนสังคมออนไลน์ จะเป็นตัวช่วยช่วยในการโปรโมทเว็บไซต์ของคุณ โดย Social Media Marketing จะเป็นตัวช่วยผลักดันให้เว็บไซต์ของคุณขยับขึ้นไปอยู่ในอันดับที่ดีขึ้นในเว็บไซต์ของ Google ซึ่งข้อดีของการทำการตลาดบนสังคมออนไลน์ หรือ Social Media Marketing (SMM) อีกอย่างหนึ่งก็คือ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย รวดเร็วทันใจ และช่วยในการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดการบอกต่อในหมู่มาก ได้อย่างง่ายดาย

 

3 . Email Marketing

Email marketing คือการตลาดออนไลน์ที่เข้าถึงลูกค้าได้ผ่านการส่งอีเมล์ ปกติแล้วจะเป็นการเน้นเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ของบริษัท ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่แพร่หลายในปัจจุบันเพราะว่าสะดวก รวดเร็วและประหยัดงบประมาณมากกว่าการส่งจดหมายทางไปรษณีย์

…ปกติแล้ว Email marketing ควรมีการยอมรับจากเจ้าของอีเมล์ก่อน ซึ่งอาจเป็นกรณีที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้กด subscribe ขอรับข่าวสารของเว็บไซต์บริษัทโดยตรง ซึ่งถ้ากรณีนี้ถือว่าลูกค้าคือกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจในสินค้าของเราจริงๆ ซึ่งทุกครั้งที่เรามีโปรโมชั่นพิเศษหรือข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า เราจะทำการส่งอีเมล์ไปแจ้ง ซึ่งมีโอกาสสูงมากที่ลูกค้าจะสนใจหรือซื้อสินค้าของเรา หรือเราอาจใช้บริการจากผู้ให้บริการด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเขาจะมีการจัดการรูปแบบอีเมล์ให้เรา มีฐานลูกค้าที่ตรงกับเป้าหมาย เพื่อข้อมูลข่าวสารที่เราต้องการส่งไปจะไม่ไปตกอยู่ใน Junk mail ซึ่งแตกต่างจากการส่ง spam mail ที่มักสร้างความรำคาญแก่ผู้รับมากกว่า

4

Spam Mail คืออะไร

…คือการที่เราดูดอีเมล์หรือซื้อรายชื่ออีเมล์มาจากแหล่งต่างๆ ที่เจ้าของมิได้รับรู้ โดยการส่งข้อความที่ต้องการไปเพื่อการขายสินค้าหรือประชาสัมพันธ์ แต่ว่าอีเมล์ชนิดนี้มักจะไปค้างอยู่ที่ Junk mail (กล่องขยะ) เพื่อเป็นการป้องกันกล่องอีเมล์ขาเข้าที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของอีเมล์นั้นๆได้ ดังนั้น การส่ง spam mail จึงไม่ได้ผลตอบรับเท่าที่ควร เพราะเหมือนเป็นการส่งอีเมล์ขยะที่ผู้รับไม่ได้สนใจ และยังสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีแก่สินค้าและบริการของคุณด้วย วิธีนี้ไม่เป็นที่แนะนำและไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ถึงแม้จะราคาถูกและรวดเร็วก็ตาม

ทำไมเราควรใช้ Email marketing อย่างถูกวิธี

  1. ใช้งบประมาณน้อย เมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ ซึ่งเราสามารถทำการตลาดแก่กลุ่มเป้าหมายได้นานจนกว่าเขาจะตัดสินใจยกเลิกรับข้อมูลจากเรา
  2. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนรวดเร็ว แถมเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดระยะยาว
  3. มีฐานลูกค้าที่ครอบคลุม ไม่จำกัดแค่ในประเทศเท่านั้น เพราะแค่กดส่งอีเมล์คลิกเดียวก็ส่งไปได้ทั่วโลก
  4. นำเสนอสินค้าและบริการได้ทั้งรูปแบบ text และ html
  5. มีผลวิจัยว่าวิธีนี้ได้ผลถึง 80% เพราะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากกว่าการเหวี่ยงแหแบบไม่มีเป้าหมาย
  6. ผลวิจัยผู้ใช้อินเตอร์เน็ตพบว่า ต้องการรับข่าวสารข้อมูลผ่านทาง Email มากกว่าสื่อช่องทางอื่นอย่างมาก

…แต่ถึงกระนั้นการส่ง Email marketing ที่ดีควรเน้นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจจากลูกค้าเป้าหมาย มากกว่าเน้นการเสนอขายอย่างเดียว บทความที่เขียนควรให้ความรู้สึกที่จริงใจ เป็นมืออาชีพ ใช้ภาษาที่สละสลวย และมีประโยชน์ต่อผู้อ่านจริงๆ นอกจากนั้นไม่ควรส่งข่าวสารถี่เกินไป เพราะจะกลายเป็นสร้างความรำคาญไม่ต่างจาก Spam mail

Posted by nutt in Business On December 3, 2013

4. Affiliate Marketing คืออะไร?

5

สวัสดีค่ะ บทความนี้พูดถึงประตูลับของการทำการตลาดออนไลน์
ว่าด้วยเรื่องราวของการทำธุรกิจ Affiliate Affiliate คืออะไร
แล้วทำไมเราต้องเลือกธุรกิจนี้ ธุรกิจนี้ทำรายได้ให้เราจริงหรือ…

ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นศึกษาเนื้อหาในบทนี้ ฉันขอแนะนำว่าถ้าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Affiliate อยู่แล้วคุณสามารถข้ามเนื้อหาในบทนี้ไปได้ทันที แต่ถึงอย่างไรฉันก็อยากจะแนะนำให้คุณอ่าน เพื่อเติมเต็มความรู้ และมุมมองใหม่ๆในการทำธุรกิจให้กว้างขึ้นค่ะ

Affiliate Marketing คือการทำการตลาดโดยอาศัยตัวแทนโฆษณาและได้รับผลตอบแทนเป็นค่าคอมมิสชั่นจากเจ้าของเว๊ปไซต์ (อธิบายเป็นภาษาชาวบ้านๆ นั่นคือ การนำสินค้าหรือบริการของผู้ขาย มาขายและเมื่อขายได้แล้ว เราก็ได้ค่าคอมมิสชั่นนั่นเอง)

6

ถ้าจะสรุปง่ายๆก็คือ งาน Affiliate คืองาน Promote Links เท่านั้นเอง
จากนั้นก็การสะสมรายได้จะทวีคูณขึ้น เมื่อมีคนเข้ามาทำกิจกรรมที่เจ้าของเว๊ปไซต์กำหนดไว้
เช่น การสมัครสมาชิก การซื้อสินค้า หรือสมัครใช้บริการต่างๆนั่นเองค่ะ

7

 

ความง่ายของงานนี้อยู่ตรงที่ว่า

  • คุณสามารถสร้างรายได้อย่างงดงามโดยคุณไม่จำเป็นต้องมีสินค้าหรือว่าบริการหรือว่าเว็บไซท์เป็นของตนเอง
  • ไม่ต้องส่งของ
  • ไม่ต้องสต๊อคสินค้า
  • ไม่ต้องคอยดูแลลูกค้า
  • ทำแค่เพียงไปสมัครเป็นตัวแทนขายกับเว๊บไซต์ต่างๆที่มีสินค้าที่เราต้องการขายเท่านั้น
  • จากนั้นก็นำไปโฆษณาในรูปแบบต่างๆตามความถนัด

Affiliate Marketing เหมาะกับคุณหรือไม่

8
ธูรกิจนี้เหมาะสมกับคุณหรือไม่ ฉันคงก็ต้องถามคุณก่อนว่า
ถ้าสมมุติว่ามีคนบอกคุณว่า ฉันมีงานตัวหนึ่งให้คุณทำแล้วคุณจะรวยเป็นเศรษฐีระดับหมื่นล้าน
โดยที่คุณไม่ต้องทำอะไรเลย คุณคิดว่าคำกล่าวนี้จะเป็นจริงหรือไม่
ได้โปรดเถิดค่ะ จอร์จ! ไม่มีงานใดๆในโลกที่คุณไม่ต้องทำอะไรเลยเพื่อให้ได้เงินมา และต่อให้คุณได้เงินก้อนนั้นมาจริงๆคุณก็คงไม่มีความภาคภูมิใจในงานนั้นเท่าไหร่ และคนรอบข้างของคุณก็คงไม่ภูมิใจเป็นแน่

เป็นความจริงที่ว่า มีผู้คนหลายล้านที่กำลังแสวงหาช่องทางในการทำเงินบนอินเทอร์เน็ตทั้งในประเทศไทย และในต่างประเทศและ 90% มักหลงเดินไปบนถนนที่ผิดเส้นทาง ซึ่งในปลายทางนั้นมักนำความหายนะมาสู่เขาเหล่านั้นนั่นเอง

ทีนี้คำถามที่น่าสนใจ กลับอยู่ที่ว่า…
แล้วเราในฐานะนัก Affiliater จะจับช่องทางการตลาดในบ้านเราให้เกิดประโยชน์ต่อตัวของเรามากที่สุดได้อย่างไรต่างหากค่ะ

อาจจะฟังดูเหมือนง่าย แต่คุณต้องมีทักษะในการทำการตลาดแบบ Affiliate Marketing 
เรียนรู้เทคนิคในการโปรโมต Links ในแบบต่างๆทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว

สำหรับฉันเองมองว่า Affiliate Marketing ไม่ใช่การขายสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีการวิเคราะห์ตลาด การเก็บสถิติ การศึกษาพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย การลงทุนด้วยเวลา แรงกาย แรงสมอง จึงเป็นเหตุผลที่คนทำ Affiliate ถูกเรียกว่า Affiliate Marketer เพราะได้นำหลักการตลาดมาใช้ร่วมด้วยนั่นเอง

  1. Content Marketing

คำว่า Content Marketing อาจจะดูไม่ค่อยเกี่ยวกับนักพัฒนาเว็บไซต์เท่าไรนัก แต่สำหรับเพื่อนๆ คนไหน ที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง หรือมีแผนจะทำธุรกิจโดยใช้เว็บเป็นสื่อแล้วล่ะก็ Content Marketing นั้นถือเป็นเรื่องที่เรามองข้ามไม่ได้เลยล่ะครับ

รู้จักกับ Content Marketing

ในชีวิตประจำวันเราคงจะพบเห็นโฆษณามากมายรอบตัวเรา โดยโฆษณาเหล่านี้มักจะเน้นไปที่การขายของหรือบริการต่างๆ ไม่ว่าโฆษณานั้นจะออกมาในรูปแบบใดแต่สุดท้ายก็มักจะลงเอยที่การหว่านล้อมให้เราเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากเค้าอยู่ดี

ในทางกลับกัน Content Marketing จะเป็นการนำเสนอ “Content” ซึ่งก็คือ “เนื้อหาที่มีประโยชน์” ให้กับผู้บริโภค โดยมีจุดประสงค์หลักก็คือ เพื่อทำให้ผู้บริโภครู้สึกประทับใจจนสามารถจดจำ Brand สินค้าได้ และเกิดความความจงรักภักดีใน Brand สินค้า(Brand Loyalty)  ในที่สุด

จริงๆ แล้วเป้าหมายลึกๆ ของ Content marketing ก็คือการขายอยู่ดี เพียงแต่จะเน้นไปที่การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของผู้บริโภคให้ได้ก่อน แล้วเมื่อนั้นผู้บริโภคก็จะเลือกใช้สินค้าหรือบริการของเราเองโดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปจูงใจอะไรเค้ามากนัก

6. Word-of-mouth marketing

ช่วงสี่ส้าห้าปีนี้ไปไหนก็มีคนพูดถึงการตลาดแบบปากต่อปาก หรือ Word-of-mouth อยู่เรื่อยๆ วันนี้พอดีไปเจอบทความ และ Infographic ของ BzzAgent ที่เขียนโดย Becky Ebenkamp ที่สรุปความเป็น Word-of-mouth ไว้ได้ดีพอสมควร เลยเอามาเรียบเรียงให้เพื่อนๆ thumbsuper อ่านกัน…

หนึ่งในเหตุผลสำคัญที่การตลาดแบบปากต่อปากได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ ผู้บริโภคและขาช้อปทั้งหลายมักจะมีแนวโน้ม “เชื่อ” และ “ชื่นชอบ” คำบอกต่อหรือคำแนะนำจากแหล่งข่าวที่ตัวเองเชื่อถือ โดยเฉพาะคนที่ตัวเองรู้จักคุ้นเคย… จะว่าไปหลักการมันก็คล้ายๆ กับที่เราชอบเข้าไปใช้บริการ Twitter เพื่ออ่านว่าเซียนมือถือที่เรา follow อยู่นั้นกำลังทำอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่ และหลายๆ ครั้งที่เราเห็นว่าเซียนมือถือคนนั้นๆ ชอบสินค้าหรือบริการอะไร เราก็มีแนวโน้มที่จะซื้อ smartphone รุ่นที่เซียนท่านนั้นแนะนำ

ในกรณีนี้เซียนมือถือท่านนั้นก็เป็นเหมือน Brand advocates* (ผู้บริโภคที่ชอบพูดถึงแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ใดๆ ทาง Social media จนสร้างผลกระทบทางบวกไปในที่สุด) ให้กับมือถือที่เขาชื่นชอบนั่นเอง

จากจุดนี้เอง BzzAgent บริษัทด้านการตลาดบน Social media จึงได้ทำการศึกษาเรื่อง “Brand advocates”? เพื่อสืบเสาะหารายละเอียดในเรื่องปัจจัยต่างๆ ที่ Brand advocates จะแสดงความชื่นชอบชื่นชมผลิตภัณฑ์และบริการออกไปทาง Social media? โดยสำรวจกับผู้บริโภค 411 คนในทุกๆ เรื่อง และผลสรุปของรายงานคือ ผู้บริโภคกว่า 83% มักจะชอบอ่านรีวิวสินค้าและบอกต่อเกี่ยวกับสินค้านั้นๆ ด้วยช่องทาง Social media ของตัวเอง??

แล้วทำอย่างไร brand advocates ถึงจะชอบและแชร์เกี่ยวกับแบรนด์?

สิ่งที่กระตุ้นให้คนกลุ่ม brand advocates พูดและแชร์เรื่องต่างๆ มีหลายอย่างบางทีก็เป็นเรื่องที่คนๆ นั้นอาจจะมีจิตสาธารณะอยากช่วยเหลือคนอื่ีน บางทีก็พูดเข้าข้างตัวเอง แต่ทั้งหลายทั้งปวดแล้ว Brand advocates เข้ามาสู่ Social media เพราะต้องการที่จะปฎิสัมพันธ์กับคน? คนกลุ่ม Brand advocates ใช้ “การสนทนา” เป็นเครื่องมือในการเชื่อมต่อกับคน คนที่อยู่ในนั้นก็จะได้พบคนใหม่ๆ ตลอดเวลา สนุกสนานร่วมกัน และชอบที่จะพูดอวดกันเกี่ยวกับประสบการณ์ดีๆ ที่ตัวเองเจอมา? Malcolm Faulds รองประธานอาวุโสฝ่ายการตลาดของ BzzAgent ซึ่งดูแลแคมเปญการตลาดแบบ word-of-mouth กับ Brand advocates มาแล้วกว่า 800,000 รายให้กับลูกค้า อย่าง Procter & Gamble, L?Or?al, และ Welch?s กล่าว

สำหรับคนกลุ่มที่เป็น Brand advocates มันเป็นเรื่องสนุกและเยียวยาความรู้สึกของตัวเองไปในตัว จากการศึกษาพบว่าคนกลุ่ม Brand advocates จะใช้ Social media ในการขยายเครือข่ายของตัวเองมากกว่าคนใช้เว็บทั่วๆ ไปสูงถึง 2.5 เท่า

นักการตลาดที่เข้าใจถึงแรงกระตุ้นและการกระทำของคนกลุ่ม Brand advocates จะมีแต้มต่อเมื่อตัวเองต้องการที่จะ “สอดแทรก” เนื้อหาเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของตัวเองเข้าไปสู่กระแสสังคม ซึ่งเดี๋ยวนี้มันก็มีเครื่องมือที่ช่วยนักการตลาดหาได้ว่าใครบ้างที่จะมาเป็น Brand advocates ให้เราได้อย่างเช่น Radian6, Nielsen BuzzMetrics (สำหรับเมืองไทยก็มีของ One Bit Matter)

นอกจากความเห็นของทาง BzzAgent เองแล้ว ก็ยังมีความเห็นของ Edwin Wong ผู้อำนวยการ B2B Strategic Insights จาก Yahoo! กล่าวว่าคนกลุ่ม Brand advocates นั้นเป็นกลุ่มที่น่าสนใจสำหรับนักการตลาด เพราะจากผลการวิจัยที่ผ่านมากว่า 5 ปีของเขาพบว่าึ 54% ของคนกลุ่มที่เป็น Brand advocates บอกว่าเหตุผลแรกที่พวกเขาแชร์เรื่องต่างๆ ก็เพราะต้องการที่จะช่วยเหลือคนอื่น ในขณะที่คนใช้เว็บทั่วๆ ไปก็ชอบช่วยผู้อื่นเช่นกันแต่มีสัดส่วนที่ 34%? ส่วนเหตุผลถัดมาก็คือ “มันรู้สึกดีที่เวลาพูดแล้วมีคนฟัง” โดยกลุ่มคนที่เป็น Brand advocates? 33% ในขณะที่กลุ่มคนใช้เว็บทั่วไปจะมีสัดส่วนแค่ 16% หรือสรุปตบสั้นๆ ง่ายๆ ว่าคนกลุ่ม Brand advocates เป็นกลุ่มคนที่ชอบแชร์ด้วยความต้องการของตัวเอง และพวกเขารู้สึกดีที่ได้ช่วยคนอื่น เพราะทำให้ตัวเองนั้นมีค่านั่นเอง

อย่างไรก็ตามนักการตลาดหลายคนก็ยังคงถกเถียงว่ามันวัดผลได้ยาก จะคิดออกมาให้มันสะท้อนยอดขายก็ยาก เพราะหลักการของการตลาดแบบ Word-of-mouth มันเป็นเรื่องการสร้างความน่าติดตามให้กับแบรนด์ในแบบการสนทนา ซึ่งยังถือเป็นเรื่องใหม่

ที่มา:Yahoo! Advertising Blog

  1. Mobile Internet Marketing

9

ตลาดมือถือคืออะไร?

ตลาดมือถือเป็นนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตกลยุทธ์การตลาดก็เกี่ยวข้องกับการใช้โทรศัพท์มือถือหรือยานพาหนะที่กำลังเคลื่อนที่เช่นที่ใช้ในการแสดงถนนหรือป้ายบิลบอร์ดที่จะย้ายในการส่งเสริมสินค้าและบริการ ป้ายการย้ายและการแสดงถนนที่ใช้ในแคมเปญการตลาดแบบดั้งเดิม ในขณะที่ยังคงมีผู้ที่จะใช้ในเส้นทางนี้วิธีการที่ทันสมัยมากขึ้นและมีประสิทธิภาพจะกระทำโดยใช้โทรศัพท์มือถือ

อุปกรณ์มือถือเช่นแล็ปท็อปพีดีเอโฟนและโทรศัพท์สมาร์ทเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตลาดมือถือที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นสำหรับธุรกิจเพื่อใช้ประโยชน์จากการออกจากกลยุทธ์การตลาดกล่องนี้เราจะหารือของแคมเปญการตลาดที่เกี่ยวข้องกับตลาดมือถือ

ตลาดมือถืออาจจะไม่ได้เป็นเพียงแค่การแสดงผลโฆษณาและป้าย แต่ยังหมายถึงการตลาดในการใช้บริการส่งข้อความสั้น (SMS) และการโฆษณาในการใช้งานโทรศัพท์มือถือ (โฆษณาใน app-)

ตอนนี้สำหรับความเข้าใจที่ชัดเจนของตลาดมือถือและแคมเปญการตลาดมือถือเราจะหารือรายละเอียดด้านล่างบางส่วนของแคมเปญและวิธีการที่พวกเขาจะทำโดยการใช้โทรศัพท์มือถือ

ตลาดมือถือผ่านทาง SMS

นี่คือกลยุทธ์การตลาดที่นิยมมากที่สุดมือถือ ทั้งนี้เป็นเพราะคนจำนวนมากใช้โทรศัพท์มือถือและโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่มีความสามารถในการให้บริการข้อความสั้น ดังนั้นการส่ง SMS พวกเขาช่วยให้ข้อความทางการตลาดของคุณข้อเสนอและคำแนะนำการเข้าถึงโดยตรงให้กับลูกค้าที่มีศักยภาพของคุณ

เป็นหลักสูตรที่เป็นประโยชน์มากขึ้นถ้าคุณกำหนดเป้าหมายข้อความของคุณเพื่อช่องทางเฉพาะผู้ที่อยู่ภายในตลาดเป้าหมายของคุณหลัก

ซึ่งสามารถทำได้โดยการระบุรุ่นมือถือที่พวกเขาใช้; ตัวเลขการเข้าถึงในโทรศัพท์มือถือของพวกเขาที่อาจจะหมายถึงพื้นที่หรือสถานที่ของผู้ใช้บริการหรือขึ้นอยู่กับแผนการที่พวกเขาเป็นสมาชิก

โดยการกำหนดเป้าหมายแคมเปญการตลาดของคุณผ่านทาง SMS, การสื่อสารของคุณอาจไม่ได้รับตราว่าเป็นสแปม เช่นเดียวกันกับแคมเปญร่วมในการบริการหรือการตลาดที่เกี่ยวข้องกับการลงทะเบียนกับโปรแกรมบางอย่างจะช่วยให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงความรู้สึกสแปมของแคมเปญการตลาดของคุณ

ตลาดมือถือผ่าน MMS

บริการข้อความมัลติมีเดียหรือ MMS เป็นแคมเปญการตลาดที่น่าตื่นเต้นมากขึ้นมือถือ มันเกี่ยวข้องกับข้อความที่มีรูปภาพหรือวิดีโอในรูปแบบสี คุณมีโอกาสที่ดีของลูกค้าที่น่าตื่นเต้นที่มีต่อแบรนด์และธุรกิจของคุณ

ในเกมการตลาดมือถือ

บางแพลตฟอร์มเกมมือถือมีอยู่ในเกมมือถือบริการด้านการตลาด คุณสามารถใช้ข้อความวิดีโอเสียงหรือภาพที่อาจจะเล่นก่อนที่จะโหลดเกมของคุณในอุปกรณ์เคลื่อนที่ของคุณ นี้มีความเป็นไปได้มากขึ้นจากการคลิกผ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณสามารถที่จะทำให้แคมเปญการตลาดของคุณในเกมมือถือที่ง่ายต่อการเข้าใจและใช้

การตลาดเว็บมือถือ

แบนเนอร์เว็บมือถือหรือโปสเตอร์เว็บมือถืออาจจะปรากฏในเว็บไซต์ของโทรศัพท์มือถือ ในทำนองเดียวกันการแปลงหรือเพิ่มเว็บไซต์มือถือสำหรับธุรกิจของคุณจะช่วยให้คนในการติดต่อกับคุณได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาต้องทำการซื้อหรือสอบถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการของคุณ

โปรดจำไว้ว่าอุปกรณ์มือถือที่จะมีขึ้นมักจะอยู่ใกล้กับลูกค้าที่มีศักยภาพของคุณจึงมีลักษณะโต้ตอบและเวลาตอบสนองที่รวดเร็วสำหรับข้อความของคุณจะช่วยให้แน่ใจว่าการตลาดของคุณจะตอบสนองต่อโดยไม่ชักช้า

ตลาดมือถือที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณทำให้มันง่ายสำหรับลูกค้าที่มีศักยภาพการใช้ประโยชน์จากข้อเสนอของท่านหรือดำเนินการกระทำที่ต้องการมากที่สุดของคุณ ทำรายละเอียดการติดต่อของคุณและรถเข็นของคุณจะช่วยให้ลูกค้าสามารถคลิกเพื่อดำเนินการที่ต้องการมากที่สุดของคุณได้อย่างง่ายดาย

ถ้าคุณอยู่ในธุรกิจและต้องการลูกค้ามากขึ้นชมเชยกลยุทธ์การตลาดอินเทอร์เน็ตของคุณกับตลาดมือถือและการโฆษณาบนมือถือเพื่อให้แน่ใจว่าช่วยในการปรับปรุงสายด้านล่างของธุรกิจของคุณ

Internet Marketing SARL เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตตลาดในตะวันออกกลางและในเอเชีย พวกเขามีทีมงานของผู้เชี่ยวชาญและมืออาชีพที่ปรึกษาการตลาดอินเทอร์เน็ตที่จะสามารถช่วยให้คุณวางแผนดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์แคมเปญการตลาดอินเทอร์เน็ตของคุณได้ดี

ติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ตปรึกษาด้านการตลาด ที่นี่และหารือเกี่ยวกับธุรกิจของคุณ สอบถามสำหรับคำแนะนำของพวกเขาในกลยุทธ์ที่ดีที่สุดรวมถึงการตลาดโทรศัพท์มือถือ

  1. Online Public Relations Marketing

การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด

การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด หรือเอ็มพีอาร์ หมายถึง ขั้นตอนการวางแผนการปฏิบัติดำเนินงานและการประเมินผลในกระบวนการกระตุ้นให้เกิดการซื้อและความพึงพอใจโดยอาศัยการให้ข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือ ผ่านรูปแบบการนำเสนอเกี่ยวกับสินค้าและองค์กร เพื่อทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและต้องการซื้อสินค้าในที่สุด นักกลยุทธ์ไอเอ็มซีบางท่านก็เรียกเอ็มพีอาร์ว่า การเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับตราสินค้าŽ (Brand Publicity) ซึ่งจะเห็นได้ว่าทิศทางของการทำประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จะเป็นการทำประชาสัมพันธ์องค์กร (Corporate Public Relations : CPR) ที่เน้นความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานกับกลุ่มเป้าหมายแต่ในปัจจุบันนักกลยุทธ์ไอเอ็มซีหันมาให้ความสำคัญมากขึ้นกับการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด (Marketing Public Relations : MPR) ซึ่งเป็นการนำความสัมพันธ์ระหว่างการตลาดกับการประชาสัมพันธ์มาผสมผสานกัน ในอดีตมักจะมีคำกล่าวว่า การประชาสัมพันธ์ไม่ใช่การตลาด (PR is Not Marketing) แต่ในปัจจุบันนั้นเป็นที่ยอมรับกันว่าการประชาสัมพันธ์กับการตลาดเป็นสองสิ่งที่มีความสำคัญต่อกันมากจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยมากมีรูปแบบวิธีการบริหารองค์กรโดยใช้การตลาดและประชาสัมพันธ์เป็นหลักในการจัดการถึง 5 รูปแบบดังนี้
ในรูปแบบแรกจะสอดคล้องกับคำพูดที่กล่าวข้างต้นที่ว่าการประชาสัมพันธ์ไม่ใช่การตลาด โดยผู้บริหารองค์กรจะมองว่าการตลาดกับการประชาสัมพันธ์ไม่เกี่ยวข้องกันเลย จนกระทั่งในรูปแบบที่ 2 มองว่าทั้งการตลาดและการประชาสัมพันธ์มีส่วนสัมพันธ์กันบ้าง และการประชาสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของการตลาดในรูปแบบที่ 3 แต่สำหรับในรูปแบบที่ 4 นั้น จะเห็นว่า การตลาดกลับเป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ ส่วนในรูปสุดท้ายนั้นการตลาดและการประชาสัมพันธ์ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของกันและกันอย่างแยกไม่ออก นั่นคือรูปแบบของการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดที่ผู้เขียนกำลังกล่าวถึงนั่นเองเหตุผลที่ทำให้การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดอยู่ในกระแสนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากสาเหตุสำคัญพื้นฐานดังต่อไปนี้
1. ค่าสื่อโฆษณามีราคาสูงขึ้น (media rates increasing ahead of inflation)
2. ทั้งตลาดและสื่อต่างก็แยกย่อยมากขึ้น (markets and media becoming increasingly fragmented) จะเห็นได้ว่ามีสื่อใหม่เกิดขึ้นมากมายอย่างนิตยสาร ได้แก่ คนรักบ้าน รถยนต์ เดินทางและท่องเที่ยว เป็นต้น
3. นักการตลาดพยายามใช้เครื่องมือการสื่อสารอย่างผสมผสานมากขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่สมบูรณ์แบบตามที่ต้องการให้มากที่สุด
4. ทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (changing consumer attitudes)
5. เพื่อให้บรรลุผลทั้งความน่าเชื่อถือและการใช้เงินอย่างคุ้มค่า (credibility and cost effectiveness) อันเป็นผลนำมาซึ่งภาพลักษณ์ที่ดีและขายสินค้านั่นเอง
การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ
1. การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรุก (Proactive MPR) เป็นการมุ่งสร้างโอกาสทางการตลาดมากกว่า คอยแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว ในภาวะการแข่งขันทางการตลาดอย่างรุนแรง การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรุกมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะมุ่งวัตถุประสงค์ทางการตลาดเป็นสำคัญ
2. การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรับ (Reactive MPR) เป็นการมุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสินค้าหรือบริษัท อันเป็นการทำลายชื่อเสียง ภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริษัท เช่น การให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเพื่อแก้ไขและควบคุมการเกิดข่าวลือ (Rumor Control) การจัดการกับภาวะวิกฤต (Crisis Management) เป็นต้น

ขอบเขตของการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด
การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด ช่วยให้แผนการสื่อสารการตลาดบรรลุเป้าหมายมากขึ้น เช่น Pepsi ใช้ Michael Jackson และ Madonna เพิ่มระดับความสนใจและการรับรู้ในตัวสินค้า สำหรับสินค้าฟุตบอลอย่าง Adidas ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดหน้าร้าน ทำการส่งเสริมการขาย และการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด เพื่อหวังผลให้ขายสินค้าได้จำนวนมากก่อนที่จะมีการโฆษณาทางโทรทัศน์เสียอีก
เอ็มพีอาร์ช่วยเพิ่มการรับรู้ในตัวสินค้า ให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบ ช่วยให้เกิดความสนใจ ความตื่นตัว ความเข้าใจ สร้างความไว้วางใจ กระตุ้นความภักดีในสินค้าและกระตุ้นการซื้อ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการประชาสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถช่วยเพิ่มทัศนวิสัย พัฒนาองค์การและความน่าเชื่อถือในตัวสินค้า ซึ่งเครื่องมือไอเอ็มซีอื่นๆ ไม่สามารถทำได้ ขอบเขตของการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดมีดังนี้
1. เขียนและบริหารแผนการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด (MPR Planning and Management) อาจกล่าวได้ว่าเป็นการบริหารจัดการภาพรวมของเอ็มพีอาร์ทั้งหมด ซึ่งรวมถึงการวางแผนและควบคุมการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด โดยทำการกำหนดวัตถุประสงค์ ระบุกลุ่มชุมชน (Publics) และกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดให้สอดคล้องกับการสื่อสารการตลาดในรูปแบบอื่นๆ จัดเวลาการบริหารขั้นตอนการปฏิบัติงานตลอดจนการประเมินผลงาน เมื่อสิ้นสุดแผนงานแล้ว
2. สื่อมวลชนสัมพันธ์ (Media Relations) เป็นส่วนสำคัญของการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด โดยสร้างความสัมพันธ์และความคุ้นเคยกับสื่อมวลชน ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่ความมั่นใจเพื่อกระตุ้นให้เกิดความชอบ ลดสิ่งที่เป็นแง่ลบ และยังเกี่ยวพันไปถึงความสัมพันธ์ของบุคคล ระหว่างนักประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดกับบรรณาธิการและนักข่าว ทำให้เกิดทัศนคติที่มีต่อกันในแง่บวก
3. การเผยแพร่ข่าวสาร (Producing Publicity) การส่งและเผยแพร่ข่าวสาร คือ หลักการสำคัญของการประชาสัมพันธ์ โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ ข่าวสาร และการส่งข่าวแจกเพื่อช่วยกระจายข้อมูลขององค์กรและสินค้าในด้านดี และยังช่วยจำกัดผลกระทบที่เกิดขึ้นในกรณีที่ให้ข้อมูลข่าวสารผิดพลาด การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารถือเป็นส่วนดีของการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดที่สามารถใช้ให้เกิดประสิทธิผลและคุ้มทุน มีศักยภาพที่จะเป็นรูปแบบการสื่อสารที่มีอำนาจ ซึ่งเป็นผลจากความน่าเชื่อถือและสามารถสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นได้
4. การผลิตสิ่งพิมพ์ (Producing Publications) เป็นส่วนสนับสนุนสำคัญของการเผยแพร่ข่าวสาร ความหลากหลายของสิ่งพิมพ์ อาจทำโดยการใช้พนักงาน ส่งจดหมายแจ้งข่าว รายงานการเงินไปยังลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสินค้าและตราสินค้า
5. การสื่อสารองค์กร (Corporate Communications) ประกอบไปด้วยการวางแผนองค์กร การจัดการภาพลักษณ์ การประชาสัมพันธ์องค์กร ชุมชนสัมพันธ์ สร้างและคงสภาพความสัมพันธ์ทั้งในระดับท้องถิ่น ชาติ และระหว่างชาติที่เกี่ยวพันกันเพื่อประโยชน์ของการดำเนินธุรกิจ การติดต่อกับรัฐบาลและตัวแทนของรัฐบาลคราวหน้าผู้เขียนจะกล่าวถึงขอบเขตของการทำประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดต่อให้จบ และจะเขียนถึงรายละเอียดของเกณฑ์ในการวางแผนว่ามีอะไรบ้างที่ต้องพิจารณา ตลอดจนข้อดีข้อจำกัดและการวัดผลของเครื่องมือนี้ว่ามีอะไรบ้าง แล้วพบกันนะครับ

เขียนโดย neung_neung ที่ 07:08

9. Display advertising

9

ทำความรู้จัก DMP เทคโนโลยีที่จะช่วยให้โฆษณาแบบแบนเนอร์ทรงประสิทธิภาพ

2 September 2013

การทำโฆษณาในรูปแบบของ Display Ads หรือที่นักการตลาดบางคนเรียกว่าแบนเนอร์นั้น ถ้าพูดผ่านๆ อาจคิดว่าไม่มีอะไรใหม่แล้ว เป็นโฆษณารูปแบบเดิมๆ แต่แท้ที่จริงแล้วยังมีหลายอย่างอีกมาก ที่อยู่ภายใต้เบื้องหลังการลงแบนเนอร์ในยุคปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะเราไม่ได้เลือกที่ Placement อีกต่อไปแล้ว ผู้โฆษณาสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมาย (Audience) ได้อย่างแม่นยำ

10. Relationship Marketing

การตลาดแบบมุ่งเน้นความสัมพันธ์

10

Relationship Marketing คือ การตลาดแบบมีความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า (Customer Relationship Marketing) นั่นเอง การบริการมีส่วนสำคัญในการตลาดแบบมุ่งเน้นความสัมพันธ์ การสร้างมิตรจิตมิตรใจหรือไมตรีจิตผ่านการบริการนั้น จะเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด (Intimate relationship) ซึ่งมีคุณลักษณะหรือมีองค์ประกอบ 3 ประการ หรือที่เรียกว่า 5C หรือ 5ส อันได้แก่

1. Communication: Self disclosure and sympathetic listening (สื่อสาร: การพูดเปิดใจและการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจผู้บริโภค) การสื่อสารมีบทบาทค่อนข้างสูงในการดึงดูดให้มีผู้มาสนใจสินค้า/บริการได้ ความปราถนาที่จะตอบทุกคำถามของลูกค้าอย่างตรงไปตรงมา และการพยายามสนองความต้องการของลูกค้าด้วยความเต็มใจและกระตือรือร้นนั้น ก็จะทำให้ลูกค้าเกิดประทับใจได้เช่นกัน

2. Caring and Giving (ใส่ใจและการรู้จักให้กับผู้บริโภค) การใส่ใจและการรู้จักให้กับลูกค้า อาจอยู่ในรูปของการให้โดยการแถมสินค้าเป็นการคืนกำไรให้กับลูกค้าและการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในทางปกป้องผู้บริโภคก็เป็นการแสดงออกถึงความใส่ใจที่มีต่อผู้บริโภคได้ดีเช่นกัน

3. Commitment: Bonding with consumers (สัญญาใจ: ความผูกพันระยะยาวกับผู้บริโภค) การรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้านั้น ที่สุดแล้วก็จะกลายมาเป็นความผูกพันระยะยาวที่ลูกค้ามีให้กับเรา การสร้างสัญญาใจอาจอยู่ในรูปโปรแกรมการให้รางวัล/สิทธิพิเศษกับลูกค้าที่ใช้บริการบ่อยครั้งในรอบปี หรือลูกค้าที่ซื้อสินค้าแต่ละครั้งเป็นจำนวนเงินที่สูง เป็นต้น

4. Comfort (Compatibility) สบายใจ/สอดคล้อง-คือการที่ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นกับความมั่นคงของสินค้าหรือมีการบริการที่วางใจได้

5. Conflict resolution and trust (สลายความขัดแย้งและสร้างความเชื่อมั่นจากการบริการ) การเปิดโอกาสให้ลูกค้าเรียกร้อง/ร้องเรียนเมื่อลูกค้าพบปัญหาจากการบริการ และเราก็พร้อมที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้นด้วยความเต็มใจในทันที

การตลาดแบบมุ่งเน้นความสัมพันธ์นั้นจะเน้นการสร้างความพึงพอใจต่อความสัมพันธ์ที่ลูกค้ามีต่อผู้ให้บริการ และความพึงพอใจต่อความสัมพันธ์จะเกิดขึ้นจากองค์ประกอบเหล่านี้คือ

  • ความพึงพอใจต่อผู้ให้บริการ
  • ความพึงพอใจต่อบริการหลัก
  • ความพึงพอใจต่อองค์กร

นอกจากนี้แล้ว ความเชื่อมั่นตัวสินค้าก็เป็นสิ่งสำคัญต่อการรักษาลูกค้าไว้ด้วยและขั้นตอนการพัฒนาความเชื่อมั่นที่ลูกค้ามีต่อสินค้านั้นมี 3 ขั้นตอนคือ

  1. ลูกค้าจะสำรวจความน่าเชื่อถือของตัวสินค้า/บริการด้วยการทดสอบในรูปแบบต่างๆ
  2. ลูกค้าจะมีความคาดหวังต่อตัวสินค้า/บริการว่าตรงกับคำโฆษณาที่เราสื่อสารออกไปตามสื่อต่างๆ ให้ลูกค้ารับทราบ
  3. ลูกค้าจะให้ความสำคัญกับความเห็นเกี่ยวกับสินค้า/บริการ ที่ถูกนำเสนอออกมาจากสื่อต่างๆหรือจากการบอกเล่ากันแบบปากต่อปาก (Viral Marketing) ข้อมูลที่ดีที่ได้บอกต่อกันแบบปากต่อปากนี้ จะมีผลทำให้ลูกค้าเกิดเชื่อมั่นในบริการได้ในที่สุด

“การรักษาลูกค้าประจำไว้” นั้น เราอาจใช้แนวทางการตลาดแบบมุ่งเน้นความสัมพันธ์ มาประยุกต์เข้ากับวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละสังคม แล้วจึงนำมากำหนดกลยุทธ์ รวมทั้งแนวทางและวิธีในการสร้างความผูกพันระหว่างลูกค้ากับสินค้า/บริการให้คงอยู่นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

แท็ก: Relationship Marketing, การตลาดแบบมุ่งเน้นความสัมพันธ์

11. Inbound Marketing กลยุทธแห่งยุคสื่อออนไลน์

ในยุค social media คึกคักสุดๆ  หลายคนรู้ว่าการตลาดได้เปลี่ยนไปจากยุคก่อนนี้แล้ว  แต่ละคนก็มีวิธีทำแคมเปญออนไลน์ต่างๆมาแล้ว

แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม  หลายครั้งก็ยากจะสรุปภาพรวมทั้งหมดว่า social media marketing นั้นมีลักษณะเด่นๆอะไรบ้าง ?  และมีจุดต่างจุดเปลี่ยนจากการตลาดเดิมๆอย่างไร ?

มีวิธีคิดแบบหนึ่งซึ่งอธิบายการตลาดยุค social media ในภาพรวมภาพใหญ่ ได้อย่างดีและเข้าใจง่าย  นั่นคือ “Inbound Marketing”  (ตรงข้ามกับ Out Bound Marketing แบบเดิมๆ) … ลองมาทัศนาภาพ infographic สวยๆ อธิบายได้น่าสนใจ  ซึ่ง MarketingOops เราคัดเฉพาะส่วนที่อธิบายได้ดีมาลง

11

Inbound Marketing  …

* ต้องสื่อสาร 2 ทาง

* ต้องให้กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าเป็นฝ่ายเข้ามาหาสิ่งที่ต้องการ แล้วพบเราอยู่ที่นั่น (เช่นในเสิร์ช , ในเฟซบุ๊ค , ทวิตเตอร์ , ฯลฯ)

* นักการตลาดต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าด้วย

* นักการตลาดต้องให้ความบันเทิงและ/หรือความรู้ต่อกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ยังไม่ได้ขาย

ตรงข้ามกับ Outbound Marketing ทุกข้อ โดยเฉพาะการที่ Outbound เน้นการ “บุก” เข้าไปสู่กลุ่มเป้าหมาย เช่นผ่านทีวี วิทยุ หรือแม้แต่ป้ายแบนเนอร์โฆษณาในเว็บ  โดยเฉพาะพวกที่มาบังเนื้อหาให้เราต้องกด X ปิด หรือกด Skip ก่อน

13

ข้างบนนี้เป็นสถิติเด่นๆที่ยืนยันว่า Ourbound Marketing กำลังอยู่ในขาลง

14

..  Inbound Marketing ทำได้ทั้งผ่าน content marketing และ การเข้าไปมีส่วนร่วมใน social media …

15

ด้านล่างนี้ชี้ให้เห็นว่า Inbound Marketing อย่าง SEO , Social Media , และ Blog นั้นประหยัดกว่าสื่อ Outbound Marketing แบบเดิมๆมาก

16

หากต้องการดูและอ่านทั้งหมด เชิญได้ที่ mashable.com

12. Online Video Marketing

 

17

เหตุผลที่ Video Marketing คือเครื่องมืออันทรงพลังของการตลาดยุคนี้ [Infographic]

แม้เครื่องมือการตลาดออนไลน์ในปัจจุบันจะมีให้นักการตลาด/นักวางแผนกลยุทธ์การตลาดเลือกใช้มากมายไม่ว่าจะเป็น Facebook Page, Facebook Application, Twitter, Mobile Application, Website รวมไปถึง Email ฯลฯแต่เครื่องมือแต่ละชนิดต่างก็มีความเหมาะสมแต่งต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของแคมเปญแต่มี tool ตัวหนึ่งที่ตอนนี้ถือเป็นหนึ่งใน plan ของทุกการตลาดและทุกแคมเปญเลยนั่นคือ Video Marketing …. Infographic ต่อไปนี้จะนำเสนอให้ทราบถึงอิทธิพลอันทรงพลังของเครื่องมือการตลาดชนิดนี้กันครับ

– ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตราว 100 ล้านคนดู VDO ออนไลน์กันเป็นประจำทุกวัน

– ข้อมูลสมัยนี้เป็น VDO (90%) มากกว่าตัวหนังสือ (10%) … ดูได้จากสถิติที่เดี๋ยวนี้คนอ่านหนังสือกันน้อยลงทุกวันๆ

– 1 ใน 3 ของกิจกรรมบนออนไลน์จะเกี่ยวข้องกับ VDO

– 50% ของการดู VDO มาจากการดูบนมือถือ

– ถ้า search ใน Google จะเจอวีดีโอในยูทูปประมาณ 28%

– ถ้าเราเปิด Twitter ดูจะพบว่า..มีการแชร์วีดีโอยูทูปราว 700 เรื่องต่อนาที

– เพจที่มี VDO จะมีโอกาสเป็นหนึ่งในลิสต์ของ Google เพิ่มขึ้น 53 เท่า

ที่มา: attwooddigital.com

 

ใส่ความเห็น